Classroom management

Classroom management

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่1

ทฤษฎีและหลักการจัดการบริหารการศึกษา
1.นักศึกษาให้ค่านิยมการบริหารการศึกษา
คือ กิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมการดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม
คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคลและอาศัยเทคนิคต่างๆอย่างเหมาะสมเพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินอยู่
2.นักศึกษาอธิบาย คำว่า ศาสตร์ และ ศิลปะ
คำว่าศาสตร์ คือ -สามารถศึกษาได้อย่างเป็นระบบ มีระเบียบแบบแผน มีกฏเฏณฑ์ หลักการ และทฤษฎีที่เชื่อได้
-มีการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และพิสูจน์ได้ โดยการนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์
คำว่าศิลปะ คือ การนำไปใช้/การประยุกต์ใช้ หรือการมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์
3.นักศึกษากล่าวถึงวิวัฒนาการการบริหารการศึกษา
1.การบริหารสมัยดั้งเดิม
2.การบริหารมนุษยสัมพันธ์
3.การบริหารหรือการศึกษาเชิญพฤติกรรมศาสตร์
4.นักศึกษาอธิบายทฤษฎีมาสโลว์ ทฤษฎีภาวะผู้นำ ทฤษฎี x และ ทฤษฎี y
ทฤษฎีมาสโลว์ คือ การจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ด้านความปลอดภัย ด้านสังสม ด้านการเคารพ-นับถือ และด้านสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง คือ การมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านี้ ต้องได้รับการตอบสนองตามลำดับขั้น
ทฤษฎีภาวะผู้นำ คือ
-ทฤษฎีผู้นำตามคุณลักษณะ
-ทฤษฎีผู้นำตามตัวแบบของวรูม เยตตัน และแจโก
-ทฤษฎีภาวะผู้นำ ทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ
ทฤษฎี x ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
1.คนไม่อยากทำงานและหลีกเหลี่ยงความรับผิดชอบ
2.คนไม่ทะเยอทะยานและไม่คิดริเริ่ม ชอบให้คำสั่ง
3.คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์การ
4.คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
5.คนมักโง่และหลอกง่าย
ทฤษฎี y ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
1.คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
2.คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
3.คนมีความคิดริเริ่มในการทำงาน ถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูงต้อง
4.คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
5.อธิบายทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ และแรงจูงใจ
-ทฤษฎีความต้องการ 5 ชั้นของอับราฮัม มาสโลว์
-ทฤษฎีความต้องการ 5 ชั้นของอีริค ฟรอมม์
-ทฤษฎีความต้องการความสัมฟทธ์ผลของแมคเคลแลนด์
-ทฤษฎีการเสริมแรงของสกินเนอร์
-ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
-ทฤษฎีสององค์ประกอบของเฟรเคอริค เฮอร์ซเบิร์ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น